ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น


ความหลากหลายทางชีวภาพ




ความหลากหลายทางชีวภาพ(Biological Diversity) หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่งซึ่งสามารถจัดแบ่งความหลากหลายทางชีวภาพได้3 ลักษณะ คือ

1. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์(species diversity) หมายถึงความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆ ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด เช่น สุนัขแมว จิ้งจก ตุ๊กแกกา นกพิราบและนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่า เช่น เสือ ช้างกวางกระจง เก้งลิง ชะนีหมีและวัวแดง พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย เช่น พืชที่มีท่อล าเลียงทั้งหมดในโลก 320,000 ชนิด สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมดประมาณ 50,000 ชนิด นักชีววิทยาวัดความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยดูจาก 2 ลักษณะ คือ
1.1. ความหลากหลายชนิด(species richness) หมายถึง จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยเนื้อที่ เช่น ประเทศเมืองหนาวในพื้นที่หนึ่งๆมีต้นไม้อยู่ประมาณ 1 – 5 ชนิด ขณะที่ป่าในประเทศเขตร้อนในพื้นที่เท่ากันมีต้นไม้นับร้อยชนิด เป็นต้น
1.2. ความสม่ำเสมอของชนิด(species eveness) หมายถึง สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหนึ่งๆดังนั้นความหลากหลายทางชนิดพันธุ์จึงสามารถวัดได้จากจำนวนของสิ่งมีชีวิตและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดรวมถึงโครงสร้างของอายุและเพศของประชากรด้วยความหลากหลายของชนิดพันธุ์จะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ พื้นที่ที่อยู่ในเขตร้อน(tropics) และในทะเลลึกจะมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สูงและความหลากหลายของชนิดจะลดลงในพื้นที่ที่มีความผันแปรของอากาศสูง เช่นในทะเลทรายหรือขั้วโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าในบริเวณเขตร้อนในแถบละติจูดต่ำ (low lattitude) ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สูงและจะลดลงเมื่ออยู่ในแถบละติจูดสูง(high lattitude) ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด แม้ในสิ่งมีชีวิตเดียวกันก็ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดสายพันธุ์ต่างๆ อันเป็นรากฐาน สำคัญที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้สืบไป

2. ความหลากหลายของพันธุกรรม (genetic diversity) หมายถึง ความหลากหลายของหน่วยพันธุกรรมหรือยีน (genes) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต ความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ เช่น ข้าวเจ้าข้าวเหนียวไก่พันธุ์เนื้อไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมียีนแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์เช่น ข้าวซึ่งมีสายพันธุ์มากมายหลายพันชนิด เป็นต้น ความแตกต่างผันแปรทางพันธุกรรมในแต่ละหน่วยชีวิตมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม(mutation)อาจเกิดขึ้นในระดับยีน หรือในระดับโครโมโซม และเมื่อลักษณะดังกล่าวถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก จะทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เช่น แมวที่มีลักษณะรูปร่างหลากหลายที่แตกต่างกัน เป็นต้น

3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecolosystem diversity) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆรวมไปถึงสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆซึ่งจัดเป็นปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ดิน น้ำ เป็นต้น มีผลต่อความหลากหลายของระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาดแนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนาอ่างเก็บน้ำ และชุมชน ระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย(habitat)ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้นสิ่งมีชีวิตบางชนิดมีวิวัฒนาการมาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลายแต่บางชนิดก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศที่มีภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความหลากหลายของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ

ความหลากหลายของไทยและท้องถิ่น

ความหลากหลายของไทยและท้องถิ่นความหลากหลายทางชีวภาพมีความหมายกว้างขวางครอบคลุมถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์พืชสัตว์รวมทั้งมนุษย์สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนแต่มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่างแปรผันกันออกไปมากมายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยในแต่ละท้องถิ่นอันเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนและหลากหลายในบริเวณต่างๆของโลกความหลากหลายทางชีวภาพเป็นผลที่เกิดจากกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและมีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมเพราะธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับปัจจัยสี่ ช่วยค้ำจุนให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขแต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีพฤติกรรมและกิจกรรมในลักษณะคล้ายกับ " ทุบหม้อข้าวตัวเอง "โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และขาดความยั้ง"คิดเพราะมนุษย์ยุคปัจจุบันได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งต่างๆทั่วโลกดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทาง"ชีวภาพในมุมต่างๆ ให้ถ่องแท้เพื่อจะได้หาแนวทางจัดการกับความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในโลกนี้ให้เหมาะสมและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษยชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม

ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพ

        1.ด้านการบริโภคใช้สอย ซึ่งนับว่าความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติมีประโยชน์อย่างมากกับปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์เช่น ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค มนุษย์ได้บริโภคอาหารที่มาจากพืชและสัตว์ พืชไม่น้อยกว่า 5,000 ชนิด ที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ และไม่น้อยกว่า 150 ชนิด ที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้น ที่ใช้เป็นอาหารหลักของประชากรโลก และใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ในการผลิตยารักษาโรค เช่น การนำพืชพวก ชินโคนา(cinchono) ผลิตยาควินินรักษาโรคมาลาเรีย ใช้พังพวยฝรั่งป่ารักษาโรคเลือดจาง เบาหวานและความดันสูง และในปี พ.ศ.2543 ประเทศไทยก็ค้นพบสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านมาลาเรีย ได้แก่ น้ำเต้าลม มะพูด ชะมวง สบู่เลือด พญาครุฑ มะเกลือป่า โปร่งฟ้า




          2.ประโยชน์ด้านการผลิต ด้านการอุตสาหกรรม ผลผลิตของป่าที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะโดยตรง เช่น ป่าไม้ ของป่า หรือโดยอ้อม เช่นการสกัดสารเคมีจากพืชในป่า
          3. ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่คุณค่าในการบำรุงรักษาระบบนิเวศให้สามารถดำรงอยู่ได้และดูแลระบบนิเวศ ให้คงทน เช่น การรักษาหน้าดินการตรึงไนโตรเจนสู่ดิน การสังเคราะห์พลังงานของพืช การควบคุมความชื้น เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นประโยชน์ที่สำคัญความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยพบว่ามีสิ่งมีชีวิตในโลกมีประมาณ 5 ล้านชนิด พบในประเทศไทย ประมาณ 7 % ขณะที่ประเทศไทยมีประชากร 1 % ของประชากรโลก ดังนั้นเมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนประชากรประเทศไทยจึงนับว่ามีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิตในประเทศไทยหลากหลายได้มาก เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายและแต่ละแหล่งล้วนมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เช่น ภูมิประเทศแถบชายฝั่งทะเลที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบสูงและภูเขาที่มีความสูงหลากหลายตั้งแต่เนินเขาจนถึงภูเขาที่สูงชันถึง 2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งของป่าไม้นานาชนิด ได้แก่ ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าสนเขา
           ประเทศไทย ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา สูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเพิ่มของประชากรทำให้มีการบุกเบิกป่ามากขึ้น การให้สัมปทานป่าไม้ที่ขาดการควบคุม การตัดถนนในพื้นที่ป่า การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม การใช้เทคโนโลยีในการตัดไม้ทำลายป่าอย่างรวดเร็วการครอบครองที่ดินเพื่อเก็งกำไร จึงมีผลให้พื้นที่ป่าไม้ประมาณ 2.7 แสนตารางกิโลเมตร หรือ53 % ของพื้นที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2504 ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 26 % ส่งผลให้พืชและสัตว์สูญพันธุ์ เช่น สมัน กรูปรีแรด กระซู่ และในอนาคตอาจมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เช่น เลียงผา ละองละมั่ง เนื้อทราย ควายป่า กวางผา สมเสร็จ เสือลายเมฆ เสือโคร่ง ช้างป่า นก สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง และ สัตว์น้ำอีกจำนวนมาก

การจัดจำแนกของสิ่งมีชีวิต

         ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกันหรือแหล่งที่อยู่ที่ต่างกัน โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันทั้งด้านชนิด จำนวน ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงจัดสิ่งมีชีวิตไว้เป็นหมวดหมู่อาศัยหลักอนุกรมวิธาน(Taxonomy มาจากรากศัพท์ลาติน คือ Taxon = ลำดับ) คือเป็นสาขาวิชาหนึ่งของกลุ่มชีววิทยา เป็นการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยมีการกำหนดกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนในทิศทางเดียวกันและเป็นสากล ซึ่งการจัดหมวดหมู่นี้มีความละเอียดมาก

ปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการจำแนกชนิดประมาณ 2 ล้านชนิด โดยจำแนกออกเป็น
อาณาจักร(Kingdom) ต่างๆกันถึง 5 อาณาจักร ซึ่งเป็นระบบที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบันการจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยลักษณะสำคัญที่เป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่ม โดยการแบ่งตามลำดับชั้นจากกลุ่มใหญ่ที่สุดลงไปถึงชนิดดังนี้


อาณาจักร(Kingdom)


            ไฟลัม(Phylum)
                                  ชั้น(Class)
                                                 อันดับ(Order)
                                                              วงศ์(Family)
                                                                               สกุล(Genus)
                                                                                             ชนิด(Species)


                                การจำแนกอาณาจักรสิ่งมีชีวิต ออกเป็นอาณาจักรดังนี้

1. อาณาจักรมอเนอรา(Kingdom Monera)

2. อาณาจักรฟังไจ(Kingdom Fungi)

3. อาณาจักรโพรทิสตา(Kingdom Protista)

4. อาณาจักรพืช(Kingdom Planate)

5. อาณาจักรสัตว์(Kingdom Animalia)











อาณาจักรมอเนอรา(Kingdom Monera)


มอเนอราเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเซลล์เดียวที่ไม่มีนิวเคลียส หรือไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกสิ่งมีชีวิตพวกนี้รวมๆ ว่า โพรแคริโอต(Prokaryote) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินหรือไซอาโนแบคทีเรีย(cyanobacteria)







อาณาจักรฟังไจ(Kingdom Fungi)


เห็ดราเป็นสิ่งชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสหรือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า ยูแคริโอต(eukaryote)อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ กินอาหารโดยสร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยออกมาย่อยสารอินทรีย์จนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดเข้าเซลล์(saprophyte)ได้แก่ เห็ดและราชนิดต่างๆ






อาณาจักรโพรทิสตา(KingdomProtista)

โพรทิสตาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ชนิดยูแคริโอต มีทั้งชนิดเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ได้แก่สัตว์เซลล์เดียว(protozoa) สาหร่ายต่างๆได้แก่ สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล สาหร่ายสีแดงสาหร่ายสีทอง เช่น ไดอะตอม






อาณาจักรพืช(Kingdom Planate)


พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์เป็นชนิดยูแคริโอต มีสารสีเพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสงเรียกว่าคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีหลายชนิด มีผนังเซลล์เป็นสาร เซลลูโลส สืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ(alternation of generation) การจำแนกเป็นไฟลัม ใช้ลักษณะวัฏจักรชีวิตแบบสลับ ที่มีระยะแกมีโทไฟต์(gemetophyte) และสปอโรไฟต์(saprophyte) การมีท่อลำเลียงอาหารและน้ำ มีรากและใบ และมีดอก(flower) หรือไม่มีดอกแบ่ง เช่น - เป็นพืชขนาดเล็ก ไม่มีระบบท่อลำเลียง มีระยะแกมีโทไฟต์เจริญเป็นอิสระนานกว่าระยะสปอโรไฟต์ ได้แก่ มอสส์ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต
- พืชมีลำต้นยาวเรียว เริ่มมีท่อลำเลียง ไม่มีใบและรากที่แท้จริง ได้แก่หวายทะนอย
- พืชโบราณ มีใบและรากที่แท้จริง มีท่อลำเลียง ได้แก่ ตีนตุ๊กแก สกุล หญ้ารังไก่ สามร้อยยอด
- ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อๆ มีรากและใบที่แท้จริง มีท่อลำเลียงที่แท้จริง ได้แก่ หญ้าถอดปล้อง สนหางม้า
- พืช เริ่มมีท่อลำเลียงพัฒนาดีขึ้น ไม่มีดอก ได้แก่ เฟิร์น ผักแว่น จอกหูหนู แหนแดง ชายผ้าสีดา
- เป็นพืชยืนต้น มีเนื้อไม้ มีท่อลำเลียงที่พัฒนาดีขึ้น มีรากและใบ มีเมล็ด แต่เมล็ดไม่มีส่วนหุ้มเมล็ด เช่น พืชพวกปรง แป๊ะก้วย สนสองใบ สนสามใบ มะเมื่อย
- พืชดอกที่มีท่อลำเลียง มีใบและราก มีเมล็ดที่มีรังไข่ห่อหุ้ม แบ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
เช่น มะลิ ข้าว กล้วย หญ้า มอส


อาณาจักรสัตว์(Kingdom Animalia)

สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต การจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆใช้ลักษณะสำคัญคือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของท่อทางเดินอาหาร สมมาตร(symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียนและการพัฒนาของระบบอื่นๆ เช่น
- สัตว์หลายเซลล์ ที่ไม่มีสมมาตร ลำตัวเป็นรูพรุนมีช่องน้ำเข้าและช่องน้ำออก มีโครงร่างแข็งหรือเป็นเส้นใยโปรตีน เช่น ฟองน้ำแก้ว ฟองน้ำ น้ำจืด ฟองน้ำถูตัว
- สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อสองชั้น มีสมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) มีท่อทางเดินอาหาร แต่ไม่มีช่องตัว เช่น ไฮดรา(Hydra) แมงกะพรุนไฟ(Physalia) แมงกะพรุนหนัง(Aurelia) แมงกะพรุนไฟ(Chironex) ปะการัง(coral) ปะการังเขากวาง(Acrepora) กัลปังหา(sea fan)
- หนอนตัวแบน มีเนื้อเยื่อสามชั้ น ไม่มีช่องตัว มี สมมาตรแบบ ด้านข้าง(bilateralsymmetry) มีระบบย่อยอาหาร(บางชนิดไม่มี) เช่น พลานาเรีย(Dugesia) พยาธิใบไม้ในตับ(Opisthorchis viverrini) พยาธิตัวตืด(tape worm) เช่น พยาธิตัวตืดหมู(Taenia solium)
- หนอนตัวกลม มีเนื้อเยื่อสามชั้นมีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวเทียม(pseudocoet) เช่น พยาธิไส้เดือน(Ascaris lumbricoides) โรคเท้าช้าง(Brugia malayi)
- หนอนปล้อลำตัวแบ่งเป็นปล้องชัดเจน มีเนื้อเยื่อสามชั้นมีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวที่แท้จริง(coelom) มีระบบไหลเวียนและระบบประสาท เช่น แม่เพรียง(Nereis) หนอนฉัตร(trbe worm) ไส้เดือนดิน(Pheretima) ปลิง(leech) ทากดูดเลือด(landleech)
- ลำตัวนิ่มมักมีเปลือกหุ้มเนื้อเยื่อสามชั้น มีสมมาตรด้านข้างมีช่องตัวลดรูปจนมีขนาดเล็ก มีระบบไหลเวียนและระบบประสาท เช่น ลิ่นทะเล(chiton) หอยกาบเดี่ยว(snail) หอยทาก(slug) ทากทะเล(nudibranch) หอยแมลงภู่(Mytilus biridis) หอยงาช้าง(tusk shell) ปลาหมึกยักษ์(Octopus) ปลาหมึกกล้วย(Loligo) หอยงวงช้าง(nautilus)
- สัตว์ที่มีลำตัวแบ่งเป็นปล้อง มีโครงร่างภายนอกหรือเปลือกปกคลุม ขาต่อเป็นข้อๆ สมมาตรแบบด้านข้างมีระบบไหลเวียนและระบบประสาท เช่น แมงดาจาน (Tachypleus gigas) แมงมุม แมงป่อง กุ้ง กั้ง ปู เพรียงหิน ตะขาบ กิ้งกือ แมลงต่างๆ
- สัตว์ทะเลทั้งหมด ผิวหนังมีหนาม ตัวอ่อนมีสมมาตรด้านข้าง ตัวเต็มวัยมีสมมาตรรัศมีมีระบบน้ำใช้ในการเคลื่อนที่ มีระบบไหลเวียน ระบบประสาท และระบบท่อทางเดินอาหาร เช่น ปลาดาว(star fish) ดาวเปราะ(brittle star) เม่นทะเล(sea urchin) ปลิงทะเล(sea cucumber) ดาวขนนก(feather star) พลับพลึงทะเล(sea lilly)
- สัตว์มีกระดูกสันหลัง มีสมมาตรด้านข้าง มีช่องตัวอย่างแท้จริง มีระบบต่างๆพัฒนาสูงสุด เช่น เพรียงหัวหอม สัตว์มีกระดูกสันหลังพวก ปลาปากกลม ปลาฉลาม ปลากะพง ปลาช่อน ปลาหมอเทศ สัตว์สะเทินน้ าสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นกชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คนหรือมนุษย์อยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Phylum Chordata)อยู่ในชั้นแมมมาเลีย(Class Mammalia)อยู่ในออร์เดอร์Primates อยู่ในแฟมิลีHominidae อยู่ในจีนัสHomoและอยู่ใน สปีชีส์โฮโมซาเปียน(Homosapiens




 ที่มา : https://sites.google.com/site/kikkok1501/bth-thi-3-phanthukrrm-laea-khwam-hlak-hlay-khxng-sing-mi-chiwit/--khwam-hlak-hlay-khxng-phuch-laea-satw-ni-thxng-thin


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น