ความก้าวหน้าของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบัน


ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ





        ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ดังนี้
1 ด้านการแพทย์
1.1) มีการวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อมาเลเรียจากท้องถิ่นต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยี ดีเอ็นเอ การนำเชื้อมาเลเรียมาเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง ศึกษาวงจรชีวิต เพื่อทดสอบยาร่วมกัน มีการพัฒนาวัคซีน
ป้องกันโรคตับอักเสบ โรคเอดส์และโรคอื่น
1.2) การใช้เทคโนโลยี PCR (Polymerase Chain Reaction) วิเคราะห์โรคเลือดธาลัสซีเมีย ซึ่งพบมากในคนไทย การตรวจลายพิมพ์ ดีเอ็นเอ เพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ลูก หรืออาชญากร ในทางนิติเวช
ใช้เป็นหลักฐานในศาลได้
1.3) การใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมในการรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม (Gene therapy)

2 ด้านการเกษตร
2. 1) เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อผลิตไม้ดอกโดยเฉพาะการผลิตกล้วยไม้ในเชิงพาณิชย์ การขยายพันธุ์ไม้สัก และพืชเศรษฐกิจหลายชนิด
2.2) การพัฒนาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชของพืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
2.3) การประยุกต์เทคนิคทางดีเอ็นเอ เพื่อขจัดโรคไวรัสในมะเขือเทศ มะละกอ และพริก
2.4) การทดสอบฝ้ายดัดแปลงยีนให้ทนต่อแมลงในแปลงทดลอง
2.5) การพัฒนาพันธุ์ข่าวใหม่ๆโดยการศึกษายีนส์ต่างๆในข้าวหอมมะเลิ ข้าวทนเค็ม และข้าวต้านทานโรค
2.6) การใช้จุลินทรีย์ต่างๆควบคุมแมลง ศัตรูพืช เช่น ใช้ Bacillus thuringiensis และ Bacillus sphericus ใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในแปลงผัก และองุ่น เป็นต้น
2.7) การผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี

3 ด้านปศุสัตว์
1) การผลิตวัคซีนต้านทานโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสุกรและวัว
2) การโคลนนิ่งสัตว์
3) การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการย้ายตัวอ่อนเพื่อขยายพันธุ์วัวนม
4) การใช้เทคโนโลยี ดีเอ็นเอ ในการตรวจโรคกุ้งหัวเหลืองในนากุ้งของไทย

4 ด้านอุตสาหกรรม
4.1) การผลิตแอลกอฮอล์จากแป้งและน้ำตาลโดยกระบวนการหมัก เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันรถยนต์ เพื่อช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบของประเทศ
4.2) การผลิตสาหร่ายเกลียวทองในระดับกึ่งอุตสาหกรรรม เพื่อใช้เป็นอาหารเสริม
4.3) การพัฒนากล้าเชื้อในการผลิตซีอิ๊ว ให้มีคุณภาพที่สม่ำเสมอ
                 วิทยาศาสตร์ชีวภาพของไทยได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างเห็นได้ชัดเจน ดังกล่าวมาแล้ว อนาคตของวิทยาศาสตร์ชีวภาพของประเทศไทย จะมีทิศทางใดนั้นต้องพิจารณาจากความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ชีวภาพในระดับโลกและความต้องการใหม่ๆ

ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ชีวภาพในระดับโลก







         ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงกันมาก คือ ความสำเร็จของโครงการจีโนมของมนุษย์ ซึ่งได้ประกาศให้ชาวโลกทราบเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2543 ว่าคณะทำงานได้ลงนามเสร็จสิ้น พร้อมทั้งร่างรายละเอียดของยีนส์ทั้งหมดของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคพันธุกรรมของมนุษย์ ทำให้รักษาโรคอย่าเจาะจง พัฒนาเวชภัณฑ์ เช่น ยา และวัคซีนให้มีความจำเพาะมากขึ้น นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์จะถูกนำมาประยุกต์ กับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเฉพาะเรื่องยีนส์ อันจะนำไปสู่วิทยาการใหม่ที่เรียกว่า สารสนเทศชีวภาพ (Bio informatics) ก่อให้เกิดความสามารถทำแบบ จำลองของโมเลกุลขนาดใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ (Computer modeling) วิทยาศาสตร์ชีวภาพจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ประโยชน์โมเลกุลในการทำนาโนเทคโนโลยี (Nano Technology) และการทำชิพชีวภาพ (Bio Chip) ที่จะใช้งานได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะประกอบหรือฝังไว้กับร่างกายของสิ่งมีชีวิต ช่วยแก้ไขปัญหาการทำงานของระบบประสาทและระบบควบคุมฮอร์โมนต่างๆได้ความก้าวหน้าเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญของนักวิทยาศาสตร์ หลายสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพจะเป็นการศึกษาในระดับโมเลกุล (Molocular Bioscienes) และจะประยุกต์ร่วมกับวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรมต้องเร่งการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการเกษตรของไทย ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งรัดการผลิต การอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นในอนาคตวิทยาศาสตร์ชีวภาพจะยังมีบทบาทสำคัญต่อการเกษตรและการแพทย์ทั้งการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถูกเร่งรัดโดยกติกาและข้อตกลงต่างๆ ก่อให้เกิดการนำวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable material) มาใช้งาน เทคโนโลยีสะอาด (Clean technology)การบำบัดทางชีวภาพ (Bioremediation) การทำเกษตรอินทรีย์ (Organic farming) ยาสมุนไพร (Herbal medicine) และโรงงานชีวภาพ Biofactory เป็นต้น ดังนั้นในอนาคตไทยจะต้องมีนักวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีเป้าหมายที่จะใช้ความรู้ 4 ด้าน คือ การเกษตร การแพทย์ การอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม สังคมไทยในอนาคตจะต้องการคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อทดแทนสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไปเนื่องจากการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การศึกษาตลอดชีวิตจะมีความสำคัญต่อสังคมมากยิ่งขึ้น (ประภา นรพัลลภ. 2546 : 180-182)








ที่มา : https://sites.google.com/site/kikkok1501/bth-thi-3-phanthukrrm-laea-khwam-hlak-hlay-khxng-sing-mi-chiwit/--khwam-kawhna-khxng-kar-chi-thekhnoloyi-chiwphaph-ni-paccuban

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น